วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

การสอนจากสถานการณ์จำลองและเกม (Simulation and game)


การสอนจากสถานการณ์จำลองและเกม (Simulation and game)
ความหมาย 
         สถานการณ์จำลอง (Simulation) หมายถึง สถานการณ์หรือกระบวนการจริงเพียงบางส่วน ที่นำมาดัดแปลงจากความเป็นนามธรรม ทำให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยปกติผู้ร่วมแสดงในสถานการณ์จำลองจะแสดงบทบาทในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้น
             เกม (Game) หมายถึง การละเล่นชนิดหนึ่งซึ่งอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความไม่แน่ใจที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ส่วนนักจิตวิทยาทั้งหลายต่างเชื่อว่า เกมหรือการละเล่นจะช่วยให้มนุษย์เกิดความรู้ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้ และการละเล่นจะช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะส่วนหนึ่งของชีวิตขึ้นอยู่กับการละเล่นด้วย ในสังคมของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ได้ใช้การละเล่นในการสอนทักษะเพื่อความอยู่รอด สรุปว่า การละเล่นจัดเป็นกลไกสำคัญ ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
        เกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Games) หมายถึงการผสมผสานระหว่างการแสดงบทบาทเข้ากับเกมซึ่งมีกฎเฉพาะ และอาจคล้ายคลึงกับความเป็นจริงมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์ และอาจมีการแข่งขันรวมอยู่ด้วย หรือไม่ก็ได้
             เกมจำลองสถานการณ์ คือ วิธีสอนที่ผู้สอนนำเอาสถานการณ์จริงมาจำลองไว้ในห้องเรียนพยายามให้มีสภาพเหมือนจริงมากที่สุด และกำหนดกติกา กฎ หรือเงื่อนไขสำหรับเกมนั้น แล้วแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ เข้าไปแข่งขันหรือเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้เรียนจะต้องเผชิญกับปัญหาและต้องแข่งขันกับฝ่ายตรงข้ามจึงต้องมีการตัดสินใจของกลุ่มเพื่อมุ่งเอาชนะกัน

               การสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming) เป็นวิธีสอนที่พัฒนามาจากการแสดง
บทบาทสมมติ การเล่นเกม และการจำลองสถานการณ์
การออกแบบเกม/สถานการณ์จำลอง
1.       เลือกเนื้อหาและกำหนดขอบเขตของกิจกรรม
2.       กำหนดกลุ่มผู้เรียน
3.       กำหนดจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมีเจตคติที่ดี
4.       พัฒนารูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ ดังนี้
4.1 สร้างฉากการแสดง (สำหรับสถานการณ์จำลอง)
4.2 อธิบายบทบาทการแสดง
4.3 สร้างแรงจูงใจ
4.4 อธิบายข้อจำกัดและแหล่งข้อมูล
4.5 กำหนดกิจกรรม
4.6 กำหนดผลที่จะเกิดขึ้น
5.       การพัฒนากฏเกณฑ์
5.1 ขั้นตอนการแสดง
5.2 การให้คะแนน
6.        การพัฒนากิจกรรมและสื่อต้นแบบ
6.1 สื่อสำหรับผู้แสดง
6.2 คูมือครูและผู้กำกับ
6.3 คู่มือแนะนำอื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น